Payment Gateway เจ้าไหนดี สำหรับรับบัตรเครดิตได้ เว็บไซต์ E-Commerce เปรียบเทียบเลย! (2024)

Payment Gateway หรือบริการรับชำระเงินออนไลน์ เป็นบริการตัวกลางการรับชำระเงินผ่านช่องทางที่เป็นที่นิยม เช่น บัตรเครดิต เดบิต Internet/Mobile Banking หรือช่องทางอื่น ๆ เพื่อให้ลูกค้าสะดวกกับการชำระเงิน

โดย Payment Gateway จะช่วยให้การทำเว็บไซต์ขายของออนไลน์ E-Commerce รับบัตรเครดิต หรือจ่ายผ่านช่องทางอื่น ไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป สามารถรับเงินได้ง่าย โดยไม่ต้องเสียเวลาเช็คสลิปว่าเงินเข้าแล้วหรือยัง

โดยในบทความนี้ Make2Web จะพาดู Payment Gateway ที่แนะนำแต่ละเจ้าที่เปิดให้บริการ และจดทะเบียนในไทย ว่ามีเจ้าไหนกันบ้าง สมัครอย่างไรและคิดค่าธรรมเนียมอย่างไรครับ


Payment Gateway มีแบบไหนบ้าง

Payment Gateway แบบแรกคือการติดต่อธนาคารโดยตรง โดยทางธนาคารจะมี Program ในการให้ธุรกิจที่จดทะเบียนแล้วยื่นขอรับชำระเงินได้ และสามารถพ่วงระบบเข้ากับเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์หรือแอพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้เช่นกัน โดยจะต้องมีเงินฝากค้ำประกัน โดยประมาณ 100,000 – 200,000 บาท ในแต่ละธนาคารก็จะบริการต่างกันไปครับ เช่น K-Payment Gateway (ธนาคารกสิกรไทย) SCB Payment Gateway (ธนาคารไทยพาณิชย์) เป็นต้น แต่แบบนี้เรื่องความน่าเชื่อถือก็จะเท่ากันกับติดต่อตัวธนาคารโดยตรงเลยครับ

และอีกแบบหนึ่ง จะเป็นแบบที่ผ่านไม่ผ่านธนาคาร หรือผู้ให้บริการบริษัทเอกชนทั่วไปเป็นคนให้บริการเชื่อมต่อการชำระเงินหลากหลายมาในบริการเดียว รับบัตรเครดิตได้ จ่ายผ่าน Mobile Banking ได้หลากหลาย สมัครครั้งเดียว ไม่ต้องมีเงินฝากค้ำประกัน


Payment Gateway ควรเลือกอย่างไร

Applying for a payment gateway

ในประเทศไทยมีผู้ให้บริการมากมายครับ ซึ่งแต่ละเจ้าก็จะมีข้อเสนอที่ไม่ค่อยต่างกันมากในเรื่องของช่องทางการรับชำระเงิน แต่นอกจากส่วนนั้นที่ต้องพิจารณา จะมีส่วนอื่น ๆ ที่ควรคำนึงถึงเช่นกัน เช่น

  1. ความปลอดภัย: เป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาเลือกผู้ให้บริการ Payment Gateway เนื่องจากลูกค้าที่เข้ามาชำระเงิน จะต้องกรอกรหัสบัตรเครดิต กรอกข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่หากรั่วไหลไปแล้วอาจเกิดความเสียหายได้ โดยลองหาผู้ให้บริการที่มีมาตรฐาน Payment Card Industry Data Security Standard (PCI DSS) หรืออธิบายโดยง่ายคือเป็นมาตรฐานที่ดูแล ปกป้องข้อมูลผู้ถือบัตร มีการทำไฟร์วอลล์ มีการดูแลข้อมูลอย่างรัดกุมนั่นเอง และต้องมีมาตรฐานการรับรองจากในเมืองไทยด้วยเช่นกัน
  2. การนำมาใช้งานกับเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มที่ต้องการ: ตัวอย่างเช่น ต้องการทำเว็บไซต์ E-Commerce ด้วย WooCommerce ทางผู้ให้บริการมี plugin สำเร็จรูปหรือมีคู่มือการทำไหม หรือการทำเว็บไซต์ด้วย Magento มีส่วนเสริมสำเร็จที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้เลยหรือเปล่า หากตรงนี้ตอบโจทย์ จะช่วยทำให้การใช้งานสะดวกขึ้นมากครับ
  3. ช่องทางการชำระเงิน: ส่วนใหญ่แล้ว Payment Gateway จะมีช่องทางหลักๆ เช่นรับบัตรเครดิต เดบิต อยู่แล้ว ซึ่งต้องดูกลุ่มลูกค้าหรือดูความต้องการว่าต้องการใช้ช่องทางอื่น ๆ เช่น WePay, Alipay เพิ่มเติมหรือไม่ และเงื่อนไขของแต่ละช่องทางเป็นอย่างไร
  4. เรทค่าธรรมเนียม และการถอนเงินออกจากระบบ: การทำงานของ Payment Gateway ส่วนใหญ่จะฟรีค่าแรกเข้าและไม่มีค่าดูแล แต่จะมีค่าบริการ 2 ส่วนนั่นคือค่าบริการต่อ Transaction (การชำระเงิน) และค่าบริการในการถอนออกจากระบบนั่นเอง ซึ่งในข้อนี้ต้องสอบถามทาง Sale เพื่อให้คำตอบครับ
  5. ทีมงานซัพพอร์ต และการจัดตั้งบริษัทจดทะเบียนในเมืองไทย/ต่างประเทศ: เนื่องจากการชำระเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน (ใช่ครับ เกี่ยวกับเรื่องเงิน) เพราะฉนั้นทีมงานที่เข้ามาดูแลและแก้ปัญหาหากเกิดปัญหาเป็นเรื่องสำคัญมาก และบริษัทที่ดูแลเรื่องเงินต้องมีมาตรฐาน เนื่องจากว่าเป็นเรื่องการเงินเช่นเคยครับ เงื่อนไขการชำระเงิน การตัดบัตรเครดิต การผ่อน การรับค่าธรรมเนียม หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ต้องโปร่งใสและตรวจสอบได้
    • จากประสบการณ์กับผู้ให้บริการเจ้าหนึ่งในเมืองไทย เป็นแค่ Front ให้กับบริษัทข้ามชาติชาติหนึ่งเท่านั้น จากการสังเกตการแก้ปัญหาและการรับปัญหาโดยทีมงานที่เมืองไทย เหมือนว่าต้องรอให้บริษัทแม่ในอีกประเทศใหญ่หนึ่งตัดสินใจก่อน จึงจะดำเนินการให้ลูกค้าได้ แม้ทางลูกค้าบุกไปยัง Office แล้วก็ตามครับ ไม่ใช่เรื่องที่ดีเลยและทำให้ลูกค้าเสียโอกาสทางการค้าไประดับนึงครับ
  6. สกุลเงินที่ต้องการใช้งาน: โดยทั่วไปแล้วผู้ให้บริการจะรับแค่ 1 สกุลเงินเท่านั้น หากต้องการเปิดสกุลเงินเพิ่มเติมหรือรับชำระผ่านสกุลเงินอื่น อาจต้องติดต่อทางผู้ให้บริการครับ บางเจ้าอาจมีค่า Setup สกุลเงินอื่นเพิ่มเติม

ค่าธรรมเนียม

ส่วนใหญ่แล้วผู้ให้บริการ คิดค่าบริการดังนี้ครับ

(ค่าสินค้า -/+ ค่าธรรมเนียม%) + VAT ของค่าธรรมเนียม = จำนวนเงินที่ได้รับ

เนื่องจากมี 2 ตัวแปรครับ

  1. ร้านค้าเป็นผู้รับภาระ: สมมุติว่าของ 100 บาท ร้านค้าก็จะเป็นผู้รับภาระค่าธรรมเนียมโดยทางผู้ให้บริการจะลบค่าธรรมเนียมและ VAT ออกจากยอด
  2. ลูกค้าเป็นผู้รับภาระ: อารมณ์เหมือนเดิน Shopping และจะรูดบัตร และทางร้านแจ้งว่ามีชาร์จ 3% นะครับ ประมาณนั้นครับ จะเป็นการบวกค่าธรรมเนียมและ VAT ให้กับลูกค้าเป็นยอดที่ต้องชำระไปครับ

ซึ่งทั้ง 2 จุดนี้จะเป็นส่วนที่เมื่อจะกำลังจะสมัคร ในฟอร์มจะมีให้เลือกในส่วนนี้ครับ

และอีกปัจจัยหนึ่งคือค่าธรรมเนียมในการถอนออก ปกติแล้วทางผู้ให้บริการจะมีให้เลือกโอนเงินในระบบที่รับชำระมาแล้วให้ทางผู้รับบริการ อาจเป็น cycle รายสัปดาห์ รายเดือน หรือต้องส่งเรื่องถอนออก โดยมักจะมีค่าธรรมเนียมประมาณ 20-50 บาท แล้วแต่เจ้าครับ


Payment Gateway ในประเทศไทย

ผมลองเลือก Payment Gateway ในเมืองไทยที่ผมเคยมีประสบการณ์ด้วยมาให้เลือกดูนะครับ โดยเจ้าที่ผมเลือกทั้งหมดผ่านการทดสอบการใช้งานกับลูกค้าจริงหลากหลายเจ้าแล้ว คุณภาพในการบริการไล่เลี่ยกันครับ รวมถึงไม่ค่อยล่ม และไม่ค่อยมีปัญหาด้านเทคนิค โดยทั้งหมดนี้ขึ้นกับว่าผู้อ่านหรือผู้สนใจคุยกับเจ้าไหนหรือโอเคกับเงื่อนไขของเจ้าไหนมากกว่ากันครับ

สำหรับค่าธรรมเนียมแต่ละเจ้าอยู่ที่ 2.xx – 3.xx% ครับ ซึ่งจะต่างกันไปตามช่องทางรับชำระ โดยหากต้องการทราบข้อมูลจริง ๆ ให้ลองติดต่อผู้ให้บริการโดยตรง พร้อมเว็บไซต์/ธุรกิจที่ดำเนินอยู่ เพื่อที่ทางเขาจะเสนอราคาให้ครับ

หากเรทเป็นที่ไม่ค่อยพอใจหรือสูงเกินไป ลองคุยกับทางเซลล์ได้นะครับ อย่าเพิ่งมองว่าแพงเกินไป

ในบทความนี้ผมขอแจ้งก่อนว่า ผมไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ให้บริการรายใด และผมแนะนำตามที่ผมเคยมีประสบการณ์ใช้ด้วยตัวเองมาเท่านั้นครับ

Xendit (GB Prime Pay)

Payment Gateway เจ้าไหนดี สำหรับรับบัตรเครดิตได้ เว็บไซต์ E-Commerce เปรียบเทียบเลย! (2024)

Xendit หรือ GB Prime Pay เป็นแบรนด์ที่มีการ Rebrand เมื่อไม่นานนี้เอง เป็นผู้ให้บริการจดทะเบียนในไทย และมีฐานลูกค้าแน่นพอสมควรครับ คลิกดูเว็บไซต์ได้เลย


OPN (Omise)

OPN (Omise)

OPN หรือชื่อเก่า Omise เป็นผู้ให้บริการ Payment Gateway เจ้านี้ของไทยเองครับ ซึ่งมีประวัติการให้บริการมาช้านาน แม้แต่ True Corporation จนถึงร้านอาหารในเครือ Minor ก็ใช้เช่นกันครับ เป็นเจ้านึงที่มีฐานลูกค้าแน่นมากทีเดียว คลิกเข้าเว็บไซต์ได้เลย


Paysolutions

Paysolutions

Paysolutions ผู้ให้บริการในเมืองไทยเช่นเดียวกันครับ เป็นเจ้าเก่าเช่นกันที่เคยใช้ชื่อว่า Thaiepay.com ที่มีช่องทางหลากหลายและมี Feature เสริมอีกเพียบ และมักจะมี Campaign ให้ร้านค้าในระบบเข้าลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ต่าง ๆ ระหว่างการใช้บริการมากมาย คลิกเข้าดูเว็บไซต์ได้เลย


KSher

Payment Gateway เจ้าไหนดี สำหรับรับบัตรเครดิตได้ เว็บไซต์ E-Commerce เปรียบเทียบเลย! (2024)

KSher เป็นผู้ให้บริการรับชำระเงินอีกเจ้าหนึ่งที่เปิดให้บริการมานานแล้วเช่นกันครับ โดยฟังค์ชั่น ค่าธรรมเนียมและ Customer Service ดีไม่แพ้เจ้าอื่นเลย (โดยเฉพาะ Sale ใน Line Official ตอบเร็วมากครับ)


เปรียบเทียบ Payment Gateway เจ้าต่าง ๆ

ช่องทาง / ผู้ให้บริการXendit (GB Prime Pay)OPN (Omise)PaysolutionsKsher
Visa/Mastercard
American Express
JCB
QR Code PromptPay
WeChat Pay
TrueMoney wallet
Rabbit Line Pay
Shopee Pay
Google Pay
AliPay
atome
Bill Payment*
SCB Easy – Mobile Banking
Kplus- Mobile Banking
Krungsri – Mobile Banking
Krungthai – Mobile Banking
Bangkok Bank – Mobile Banking
TTB – Mobile Banking
ผ่อนชำระ**
รับชำระอัตโนมัติ (Recurring)

*ออกบิล แล้วนำไปชำระเงินผ่านช่องทางอื่น ๆ เช่น Counter Services, ห้างสรรพสินค้า หรือจุดบริการของธนาคารต่าง ๆ
**กรุณาตรวจเช็คกับทางผู้ให้บริการอีกครั้ง ในส่วนของบัตรเครดิตที่สามารถนำมาผ่อนได้


การสมัครใช้งาน

Choosing the Right Payment Gateway for Your Website

การสมัครสมาชิกส่วนใหญ่ จะต้องเตรียมเอกสารเป็นจำนวนมากและมีการลงนามในสัญญาต่าง ๆ ก่อนเปิดให้บริการครับ โดยเอกสารที่ต้องเตรียม มักจะมี

  • เอกสารใบสมัคร ลงนามโดยผู้มีอำนาจ (บุคคลธรรมดาก็ใช้ได้ครับ)
  • เอกสารจดทะเบียนบริษัท (หากเป็นบริษัท)
  • เอกสารรายการเดินบัญชี เอกสารรับรองต่าง ๆ ตามทีผู้ให้บริการร้องขอ
  • สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจ

นอกเหนือจากนี้ ผู้ให้บริการมักจะส่งใบเสนอราคา และเอกสารสัญญา โดยมักจะมี

  • ค่าบริการแต่ละช่องทางชำระเงินว่า เรทที่ชาร์จ กี่ %
  • การถอนเงิน
  • ขอบเขตความรับผิดชอบ สินค้าที่ห้ามขาย เป็นต้น

หลังจากตกลงและลงนามเรียบร้อยแล้ว ทางผู้ให้บริการก็จะเปิดให้ใช้งานครับผม


สุดท้ายนี้

หากคุณต้องการเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าในการชำระเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ ท่ีลูกค้าสะดวก โดยไม่ต้องเสียเวลาตรวจสอบสลิปให้วุ่นวาย การเพิ่ม Payment Gateway เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีมาก ๆ ในการสร้างยอดขาย ให้กับร้านค้าออนไลน์ของคุณครับ

สำหรับ Make2Web บริการออกแบบเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ E-Commerce ทำเว็บไซต์รับบัตรเครดิตง่าย ๆ รองรับการเชื่อม Payment Gateway ทุกเจ้า และให้คำแนะนำในการสมัครได้ทุกขั้นตอนครับ

👋จ้างทำเว็บไซต์ ที่ไหนดี?

Make2Web
รับทำเว็บไซต์
ปรับปรุงเว็บไซต์
สอบถามได้นะครับ

Line: @make2web อ่านรายละเอียด

บทความแนะนำ

อยากได้เว็บไซต์คุณภาพดี สวยงาม ทันสมัย โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ มองหาผู้ให้บริการรับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บบริษัท เว็บองค์กร รับออกแบบเว็บไซต์ ฝีมือดี Make2Web เรายินดีให้บริการ มั่นใจในประสบการณ์มากกว่า 8 ปี ยินดีให้คำปรึกษา ฟรี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราให้บริการลูกค้ามาแล้วกว่า 1,000 ราย มีผลงานมาแล้วมากมาย สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าทุกคน การันตีคุณจะได้เว็บไซต์ดีๆ กลับไปต่อยอดธุรกิจแน่นอน