การจ้างทำเว็บไซต์ในปัจจุบันถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับธุรกิจที่ต้องการขยายตลาดออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเว็บขายของ E-Commerce ทำเว็บบริษัท หรือทำเว็บอสังหาฯ ทั่วไป โดยในตลาดมีผู้ให้บริการไม่ว่าจะเป็นฟรีแลนซ์ บริษัท หรือ Digital Agency จำนวนมาก แต่การเลือกบริษัทรับทำเว็บไซต์ที่ดีและคุ้มค่านั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เพราะ วันนี้ผมมี 7 เคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณเลือกบริษัทรับทำเว็บไซต์ได้อย่างคุ้มค่าที่สุดครับ
1. วางแผนและกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
ก่อนเริ่มทำเว็บ ควรรู้ขอบเขตงานว่าอยากให้เว็บมีอะไรบ้าง
ก่อนจะเลือกจ้างทำเว็บไซต์ สิ่งแรกที่ต้องทำคือการวางแผนและกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนของเว็บไซต์ว่าต้องการให้เป็นอย่างไร เช่น ต้องการขายสินค้าออนไลน์ ต้องการประชาสัมพันธ์แบรนด์ หรือต้องการแสดงประกาศในเว็บอสังหาฯ เป็นต้น เมื่อรู้เป้าหมายแล้วจะทำให้การเลือกบริษัทรับทำเว็บไซต์ง่ายขึ้นครับ
พอได้ตรงนี้มาแล้ว ลองมาแตกออกดูครับว่าภาพรวมอยากให้เว็บเป็นอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง
- ทำให้ใครดู กลุ่มลูกค้าประเภทไหน เจาะเฉพาะ B2B หรือเปล่า
- ต้องการให้ผู้ชมปฎิสัมพันธ์กับเว็บอย่างไร เช่นอยากให้ซื้อออนไลน์ได้เลย หรืออยากให้กดแอดไลน์มาคุยเองและใช้เว็บเป็นหน้าร้านเฉย ๆ
- ซับซ้อนขึ้นมาหน่อย ก็เป็นอยากให้เว็บมีระบบอะไรบ้าง เช่นให้เว็บขายของออนไลน์ได้เลย กดลงตะกร้าตัดบัตรเครดิตได้ หรือทำเว็บบริษัททั่วไปที่แสดงข้อมูล และกรอกฟอร์มติดต่อหากสนใจสินค้าหรือบริการ เป็นต้น
- อยากนำเว็บไซต์ไปใช้อย่างไร เช่นใช้เป็นโปรไฟล์อย่างเดียว หรือใช้เน้นเก็บ Lead จากการทำโฆษณา หรือใช้ทำ Online Marketing แบบเต็มสูบ
และอาจลองหาก Website Reference มาเป็นแนวทาง 2-3 เว็บก็ได้ครับว่าอยากได้แบบไหน
สามารถอ้างอิงจากบทความต่อไปนี้เพื่อเป็นแนวทางได้เลยครับ
สิ่งที่เกิดขึ้น บ๊อยบ่อย
ยกตัวอย่างเช่นบทสนทนาที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในวงการ ที่มีชื่อเล่น ๆ ว่า Technical Bankruptcy (ลองหาอ่านบทความได้ครับ ที่ การล้มละลายของซอฟต์แวร์ How to Avoid “Technical Bankruptcy” ผู้เขียนเขียนดีครับ)
- Client: ขอระบบนี้หน่อยนะ เพิ่งนึกออกว่าต้องมี
- Developer: ผมทำให้ ทันจันทร์ช่วงเช้านะครับ เพราะงานนี้ค่อนข้างซับซ้อน และเพิ่งเพิ่มเข้ามา ผมดูแล้วน่าจะมี Loophole เยอะ ขอเวลาทำเพิ่มนิดนึงนะครับ
- Client: ไม่ได้นะ พี่มีแผนจะ Launch ระบบนี้พร้อมเว็บด้วยเลยพรุ่งนี้ เอาอะไรง่าย ๆ ทำให้มันใช้ ๆ ได้ไปก่อนได้ไหม
- Developer: เอ่ออออออออ ได้ครับ
แล้ว Dev ก็ต้องทำยังไงก็ได้ให้งานมันออกมาเสร็จ ไม่ได้ออกมาดี เพราะประเมินไม่ทันครับ มันก็จะเกิดกลายเป็นหนี้ดี ๆ นี่เอง ที่วันนึงก็ต้องมารับภาระในสิ่งที่เคยทำไว้ หลายเคสก็ต้องรื้องานทำใหม่ทั้งหมดเลย รื้องาน = ใช้เงินมากขึ้นในการซ่อมครับ
ในงานเล็ก ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอะไรครับ แต่ถ้าเริ่มสเกลแล้ววันนึง มีปัญหาขึ้นมา มันจะเป็นภาระ และจะเสียทั้งสองฝ่ายครับ
เลี่ยงได้อย่างไร
ในงานทำเว็บไซต์ หรือพัฒนาระบบเว็บไซต์ จริง ๆ ก็จะมีไม่ค่อยจะกี่ข้อครับ เช่น
- สรุปขอบเขตงานให้ชัดเจนทั้งสองฝ่ายว่า ทั้งผู้จ้างและผู้รับจ้างว่าต้องมีระบบอะไรบ้าง
- ในอนาคตจะสเกลระบบอะไรบ้าง หรือมีภาพกว้างๆ ว่าอยากต่อเติมอย่างไร แจ้งผู้พัฒนาด้วยก็ดีและอาจเน้นย้ำว่าให้ในทำระบบให้รองรับในอนาคต
- เลือกผู้พัฒนาที่มือถึง และจัดการงานได้ดี เพราะจากข้อ 2) หากมีผู้พัฒนาที่ไม่ใส่ใจงาน และถึงเวลาต้องสเกลจริง ๆ จะมีปัญหา
2. เลือกระหว่างฟรีแลนซ์ บริษัท หรือ Agency
Put the right man on the right job ใช้ได้เสมอ
ตัวเลือกในการจ้างทำเว็บไซต์มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นฟรีแลนซ์ บริษัท หรือ Agency ซึ่งแต่ละรูปแบบก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป เช่น ฟรีแลนซ์อาจจะราคาถูกกว่าแต่อาจมีความเสี่ยงด้านคุณภาพ ในขณะที่ บริษัทรับทำเว็บไซต์อาจมีราคาสูงกว่าแต่มีทีมงานที่พร้อมดูแลอย่างครบวงจร เป็นต้น
ทีนี้เรามาดูความต่างระหว่างการจ้างฟรีแลนซ์ทำเว็บ บริษัททำเว็บหรือ Digital Agency กันนะครับ
จ้างฟรีแลนซ์ทำเว็บ
เริ่มต้นที่: หลักพันต้น ๆ – หลักหมื่นกลาง ๆ / ปลาย ๆ
เหมาะกับ: ผู้ประกอบการที่มีงบไม่มาก หรืออยากได้โปรเจคไม่ใหญ่มาก และคุยงานกับคนทำโดยตรง
การจ้างฟรีแลนซ์ออกแบบเว็บไซต์มักจะเป็นตัวเลือกแรก ๆ สำหรับผู้ประกอบการที่อยากได้เว็บไซต์ในราคาไม่แพงครับ เนื่องจากสายงานนี้ ถ้าพูดตรง ๆ จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมที่เป็นฟรีแลนซ์เอง ก็คือสามารถเริ่มต้นได้ไม่ยากเท่าสายงานอื่นครับ เลยทำให้มีคนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเด็กจบใหม่ หรือคนที่ลาออกจากงานประจำมา หรือคนที่เปลี่ยนสายงานมาทำสามารถออกมารับงานได้ง่ายครับ
ซึ่งนอกจากในส่วนของราคาที่ฟรีแลนซ์สามารถให้ได้แล้ว ก็จะมีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง และหากฟรีแลนซ์ประสบการณ์ทำเว็บสูง ๆ หรือเคยร่วมงานใหญ่ ๆ มาแล้ว (และคุยง่าย ๆ) และที่สำคัญก็คือการคุยงานโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินหรือเรื่องงานครับ ฟรีแลนซ์ก็จะเป็นตัวเลือกนึงที่น่าสนใจครับ แต่ทั้งนี้ก็จะมีข้อที่ต้องแลกหากเจอเจ้าที่ไม่ดีด้วยครับ
ข้อดี
ข้อเสีย
จ้างบริษัททำเว็บ
เริ่มต้นที่: หลักหมื่นต้น ๆ / กลาง – หลักแสนกลาง ๆ / ปลาย ๆ
เหมาะกับ: ผู้ประกอบการที่มีงบระดับหนึ่ง ที่ต้องการการทำเว็บครบวงจรและทีมที่ดูแลเว็บโดยตรง
การเลือกบริษัทมาทำเว็บ ข้อดีหลัก ๆ เลยนั่นคือโดยส่วนใหญ่แล้ว นอกจากความน่าเชื่อถือที่มีมากกว่าแล้ว บริษัทที่ให้บริการทำเว็บ มักจะพ่วง Service อื่น ๆ มาด้วย เช่นทำอันดับ Google หรือการทำ SEO นั่นเอง หรือบริการดูแลเว็บไซต์ที่มีทีมงานชัดเจน จะทำให้การกำหนดแนวทางหรือทิศทางการทำเว็บไซต์และการต่อยอดในอนาคตง่ายขึ้นนั่นเอง
โดยทั่วไปแล้วเมื่อมีโปรเจคเกิดขึ้น บริษัทก็จะ Assign ทีมมาให้ อาจประกอบไปด้วย AE, Designer, Developer และ Content Team แล้วแต่ขนาดโปรเจคและขนาดบริษัทครับ โดยแต่ละคนก็จะมีหน้าที่ของตัวเองชัดเจน และจะโฟกัสที่งานของตัวเอง ไม่เกี่ยงกัน จะทำให้ในแต่ละส่วนของโปรเจคได้รับการดูแลโดย Specialist โดยตรงเลยครับ
ข้อดี
ข้อเสีย
จ้าง Digital Agency
เริ่มต้นที่: หลักแสน+ เป็นขั้นต่ำ
เหมาะกับ: ผู้ประกอบการที่มีต้องการ Full Service ตั้งแตการทำเว็บจนถึงแผนการตลาดที่วัดผลได้จริง
นี่คือ Ultimate Boss ของการทำเว็บจริง ๆ คือการจ้าง Digital Agency มาดำเนินการด้านเว็บไซต์ครับ โดยเหมาะกับโปรเจคที่ใหญ่ ซับซ้อน ต้องใช้บริการหลากหลายเพื่อให้สินค้าหรือบริการที่คุณกำลังทำอยู่ เกิดจริง ๆ ครับ จนเว็บอาจเป็นแค่เพียงองค์ประกอบเดียวเท่านั้นสำหรับบางงาน
โดย Digital Agency ทั่วไปมักจะมีทีมที่เป็น Specialist จริง ๆ มาช่วยดูในทุกอย่างคล้ายของบริษัทครับ แต่จะลงลึกยิ่งกว่าทั้งในด้านผลลัพธ์ที่ลูกค้าและผู้ว่าจ้างจะได้รับ ความเชี่ยวชาญ และคุณภาพงานครับ โดยส่วนใหญ่แล้วทีมที่ดูแลเว็บไซต์ก็จะมีมาตรฐานที่สูง มี QA ชัดเจน และกระบวนการทำงานที่ละเมียดละไมมากทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การออกแบบและพัฒนาเลย โดยหลาย ๆ เจ้ามักจะเคยทำงานกับบริษัทที่เป็น High profile บริษัทมหาชนทั้งไทยและต่างประเทศมาแล้วครับ
Digital Agency มักจะไม่ได้ทำเว็บอย่างเดียวหากคุณตัดสินใจจ้างครับ เขามักจะแนะนำให้พ่วงหลาย ๆ อย่างเข้าไปด้วยเช่น Corporate Identity, Branding, Marketing Campaign, SEO/SEM Campaign, Media Campaign เป็นต้น เพราะอย่างที่ผมบอกครับ ถ้าคุณลงทุนใน Agency ผมแนะนำให้ทำให้ เกิดจริง ๆ ครับ
แต่ถ้าคุณจะจ้างทำเฉพาะเว็บอย่างเดียวก็ได้นะครับ แต่ผมจะแนะนำให้ลองคุยความต้องการอย่างละเอียดอาจดีกว่าครับ
ข้อดี
ข้อเสีย
3. พัฒนาเอง (Custom) หรือเลือกใช้ Wordpress
โดยทั่วไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นฟรีแลนซ์ บริษัท หรือ Digital Agency จะแนะนำหรือเลือกใช้ Wordpress ในการสร้างเว็บไซต์ เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานได้ยืดหยุ่น ปรับแต่งต่อได้ง่าย มีธีมและปลั๊กอินให้เลือกมากมาย และยังสามารถปรับแต่งหรือตัดดีไซน์จาก UX/UI Designer ได้ตามต้องการ ซึ่งบริษัทรับทำเว็บไซต์ส่วนใหญ่ก็รองรับการทำเว็บด้วย Wordpress
ข้อได้เปรียบ
แต่สำหรับบางเจ้าก็จะมี Software สำหรับพัฒนาเว็บ หรือทำเว็บด้วยเครื่องมือที่แตกต่างกันไป อาจเขียนเองด้วย Platform อื่น ๆ เช่น Shopify หรือใช้ Framework เช่น React หรือ Next.js หรือ Astro ซึ่งก็มักจะมีค่าบริการที่สูงขึ้นไป เนื่องจากต้องใช้ผู้พัฒนาโดยเฉพาะ ทั้งนี้ก็ขึ้นกับงานครับ
Right tool for the right job ยังใช้ได้เสมอ
ควรเลือกอย่างไร
- เว็บทั่วไป เว็บบริษัท หรือเว็บที่มีการอัพสินค้าแสดงในเว็บ หรืออัพเดทข่าวบริษัท ใช้ WordPress ก็ได้ครับ
- ในงานที่คล้าย ๆ กัน หลาย ๆ เจ้าโดยเฉพาะ Digital Agency ที่มักจะใช้กัน ก็จะเป็น Headless WordPress หรือ Framework ตัวอื่น ๆ ครับ ขึ้นกับงานและระบบ
- เว็บ E-Commerce ที่มีขนาดใหญ่ เชื่อม API เยอะหรือมีฟังค์ชั่นมากมาย อาจต้องพิจารณาใช้ Script อื่นครับ เช่น Magento หรือพัฒนาเอง
WordPress ไม่ปลอดภัยจริงไหม เป็นเครื่องมือของคนมักง่ายหรือเปล่า
พูดแบบไม่เข้าข้างฝ่ายไหน คำตอบคือ ไม่ใช่ ครับ
WordPress มักจะถูก Stereotype ว่าโดนแฮ็คบ่อย ไม่ปลอดภัย โหลด ๆ ลงธีมลงปลั๊กอินก็เสร็จแล้ว เอาจริง ๆ ผมก็อยากให้มันง่ายแบบนั้นนะครับ แต่มีดอันนึงถ้าอยู่ในมือเชฟเก่ง ๆ ก็จะได้อาหารที่ดี อยู่ในมือคนที่ทำไม่เป็น ก็บาดนิ้วได้ครับ ซึ่งเป็นอะไรที่ Apply ได้กับแทบจะทุก Script เลย
ทั้งนี้การทำเว็บด้วย WordPress มีอย่างเดียวเลยคือต้องมี Best Practice ครับ ซึ่งเป็นส่วนที่ควรลองถามบริษัทที่รับงานอย่างมากว่ามีแนวทางการทำงานอย่างไรในส่วนนี้นะครับ
อ้อ เว็บ WordPress ใช้กันเกือบครึ่งโลกนะครับ วางใจได้ครับถ้าใช้งานถูกลักษณะและถูกวิธี
4. ตรวจสอบผลงานและรีวิวจากลูกค้า
ก่อนตัดสินใจเลือกบริษัทรับทำเว็บไซต์ ควรตรวจสอบผลงานและรีวิวจากลูกค้าที่เคยใช้บริการมาก่อน เพื่อดูคุณภาพของงานและความพึงพอใจของลูกค้า นอกจากนี้ยังควรขอดูตัวอย่างเว็บไซต์ที่ทำมาแล้วเพื่อประเมินฝีมือและความชำนาญของทีมงานด้วยครับ
ผมแนะนำดังนี้ครับ
- แนะนำให้ลองหาเพื่อนหรือผู้ที่มีความรู้มาช่วยดูแลสกรีนครัน
- ลองเลือกผลงานจาก Portfolio มา 1-2 งาน (เป็นไปได้ให้ลองนำงานที่เป็น High profile ถามดูครับ) และลองถามความรู้ดูครับว่าเขาได้ทำงานนี้จริง ๆ หรือเปล่า (เพื่อป้องกันการแอบอ้างผลงาน) เช่นถามว่าใช้อะไรทำ เทคโนโลยีอะไร แนวคิดการออกแบบ และคำถามทั่วไปครับ
- บริษัททำเว็บส่วนใหญ่จะบอกโดยดีเทลไม่ได้นะครับ ถ้าเป็นงานที่มีการเซ็นความลับ โดยเฉพาะเรื่องภายในหรือเรื่องราคางานครับ ก็ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีในการวัดการตอบกลับครับว่าบริษัทหรือคนที่คนคุยอยู่อยากให้บริการแค่ไหน
- แนะนำให้ลอง Search ชื่อใน Google ก็ดีนะครับ หากจ้างฟรีแลนซ์ก็ควร Search ชื่อ-นามสกุล หากเป็นบริษัท ลองเซิร์ชชื่อเจ้าของบริษัทก็ดีนะครับ อาจมีหลายคนที่ทิ้งงานหรือโกง ก็จะได้เลี่ยงทันนะครับ
5. สอบถามขั้นตอน สัญญา และระยะเวลาในการทำงาน
ก่อนตกลงจ้างทำเว็บไซต์กับบริษัทรับทำเว็บไซต์ ควรสอบถามให้ชัดเจนถึงขั้นตอนและระยะเวลาในการทำงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น เพื่อวางแผนในการใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเหมาะสม และป้องกันความล่าช้าที่อาจเกิดขึ้นได้ได้ครับ
และที่สำคัญการทำเว็บอย่างน้อยควรมีเอกสารสัญญาตกลงกันเกิดขึ้นครับ เช่นใบเสนอราคา สัญญาจ้างงาน เป็นต้น พร้อมเงื่อนไขการจ่ายเงิน และควรจะมีการเซ็นรับทราบทั้งสองฝ่ายครับ
6. ระบุข้อมูลที่ต้องการอย่างละเอียด
เพื่อให้ได้เว็บไซต์ที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด ควรระบุข้อมูลและความต้องการต่าง ๆ ให้บริษัทรับทำเว็บไซต์อย่างละเอียด เพื่อนำไปออกใบเสนอราคาหรือทำใบ Proposal ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทั่วไปอย่างจุดประสงค์การทำเว็บไซต์ กลุ่มเป้าหมาย บัทเจท หรือรายละเอียดทั่วไปอย่างเช่นเนื้อหา รูปภาพ สี ฟอนต์ หรือฟังก์ชันการใช้งาน ยิ่งให้ข้อมูลละเอียดมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งได้ขอบเขตงานที่ละเอียดขึ้น และได้เว็บไซต์ที่ถูกใจมากขึ้นเท่านั้น
สามารถอ้างอิงจากบทความต่อไปนี้เพื่อเป็นแนวทางได้เลยครับ
- แชร์เทคนิค ทำเว็บไซต์บริษัท องค์กร ธุรกิจ ให้ดูน่าเชื่อถือ แค่ 4 ข้อเท่านั้น!
- ทำเว็บไซต์ E-commerce ขายของออนไลน์ ต้องรู้อะไรบ้าง เริ่มยังไง ให้ ปัง!
7. เช็คราคาและเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจ
สุดท้ายคือการเช็คราคาและเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจจ้างทำเว็บไซต์ ควรขอใบเสนอราคาจากบริษัทรับทำเว็บไซต์หลาย ๆ ที่ และนำมาเปรียบเทียบทั้งในด้านของราคา ขอบเขตการทำงาน ระยะเวลา และการรับประกัน เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่คุ้มค่าที่สุด และค่อยตัดสินใจจ้างครับ
8. (ข้อแถม) ขั้นตอนการเลือกบริษัททำเว็บ หรือฟรีแลนซ์ทำเว็บไซต์ Step by Step
ผู้อ่านบางท่านอาจอ่านมาแล้วก็ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี ไม่เป็นไรครับ ผมเข้าใจว่าหลาย ๆ อย่างเป็นเรื่อง Technical มาก ๆ แบบนี้เรามาเริ่มกันดีกว่าครับ
- ทำตามหัวข้อ วางแผนและกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และทำให้มีภาพรวมเว็บที่อยากทำก่อนครับ จะไปข้ออื่นไม่ได้เลยถ้าไม่ทำข้อนี้
- ลองหาเจ้าที่เคยร่วมงานด้วยกัน หรือหากไม่มี ลองเริ่ม Search จาก Google ก็ได้ครับ
- ลองเลื่อนดูในหน้าเว็บว่าเว็บไซต์ที่อยากได้ ทั้งเว็บของบริษัททำเว็บเองและผลงานในหน้า Portfolio คือสิ่งที่อยากได้ไหม เพราะนักออกแบบ นักพัฒนาและบริษัทต่าง ๆ ก็มักจะมีแนวทางหรือลายเส้นที่ต่างกันไป ขึ้นกับว่าชอบของใครครับ
- ลองดู Range ราคาว่ารับได้ไหม อยู่ในงบไหม
- ติดต่อสอบถามดูครับ ลองเล่ารายละเอียดโปรเจคดูว่าทางเจ้าที่ติดต่อไปมีแนะนำอย่างไร และลองดูไปในตัวว่าผู้ให้บริการแนะนำโอเคไหม มีความเข้าใจในงานที่เขาทำและมีความอยากช่วยคุณทำเว็บแค่ไหนนะครับ และที่สำคัญคุณสามารถวัดไปด้วยในตัวเลยว่า อยากร่วมงานด้วยกันไหม
- ผมแนะนำถามข้อมูลต่อไปนี้
- ยก Portfolio ขึ้นมาสัก 1-2 ตัวที่ใกล้เคียงกับ Project ที่ทำและลองถามดูครับ ตามหัวข้อนี้ครับ (ตรวจสอบผลงานและรีวิวจากลูกค้า)
- ราคาเท่าไหร่ และราคานี้ได้อะไรบ้าง
- ขั้นตอนการทำงาน
- การชำระเงินเป็นอย่างไร (รวดเดียว มัดจำ หรือตาม Milestone) หากแฟร์ ๆ แล้วควรมีจ่ายก่อนเริ่มงานและหลังปิดงานครับ ไม่ควรรวดเดียวก่อนเปิดงาน (หากเป็นงานเว็บไซต์หรือพัฒนาระบบ)
- ค่าบริการรายปี และการดูแลรายปี
- ส่งมอบงานอย่างไร ได้ Access อะไรบ้าง
- Hosting และ Domain Name จดที่ไหน ผู้ว่าจ้างได้อะไรบ้าง
- ข้อมูลอื่น ๆ เช่นรับทำ SEO ไหม การทำการตลาดเป็นอย่างไร
- แนะนำให้ลองเปรียบเทียบหลาย ๆ เจ้าและลองตัดสินใจดูครับ
คำถามที่พบบ่อย
1. จ้างทำเว็บไซต์ราคาเท่าไหร่ ราคากลางทำเว็บอยู่ประมาณไหน?
ผมไม่มีคำตอบให้ข้อนี้จริง ๆ ครับ
คำถามว่าจ้างทำเว็บไซต์ ราคาเท่าไหร่ดี ด้วยความที่อุตสาหกรรมมีผู้ให้บริการรองรับที่กว้างมาก ราคาในการจ้างทำเว็บไซต์เลยจะขึ้นอยู่กับขอบเขตของงาน ความซับซ้อน และบริษัทรับทำเว็บไซต์ที่เลือก หากเป็นฟรีแลนซ์ก็จะขึ้นกับคุณภาพ ประสบการณ์ และค่าตัว โดยทั่วไปอาจเริ่มต้นที่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสนบาท
ผมแนะนำให้ลองมองดูในเรื่องระยะยาวดีกว่าครับว่างานที่จะได้นั้นใช้งานได้ระยะยาวแค่ไหน เพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยนอย่างไรได้บ้าง ตรงกับความต้องการและ Roadmap ที่มีแค่ไหนครับ
สุดท้ายแล้ว ราคาที่ดีที่สุดคือราคาที่ทั้งสองฝ่ายโอเคครับ ในบทความนี้ผมจึงแทบไม่พูดถึงเรื่องราคาเลย แต่ไม่ปฎิเสธว่าราคาก็สามารถบ่งบอกคุณภาพได้ระดับหนึ่งเช่นกันครับ
2. ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าจะได้เว็บไซต์?
ระยะเวลาในการทำเว็บไซต์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1-3 เดือน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของเว็บไซต์และปริมาณงานของบริษัทรับทำเว็บไซต์ อย่างไรก็ตาม บางเว็บไซต์อาจใช้เวลาน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ได้
3. จบงานแล้วควรได้อะไรบ้าง
ผู้ว่าจ้างควรคุยให้ชัดเจนก่อนเริ่มงานเลยครับ ว่าหลังจบงานจะได้ Access อะไรบ้าง เช่นรหัสเข้าหลังบ้าน รหัสเข้า Web Hosting หรือตัวจัดการโดเมน เป็นต้น
ทั้งนี้ผมค่อนข้างแนะนำว่าตัวโดเมนและเว็บโฮสติ้ง ควรมีสิทธิ์ในการเข้าถึงและแก้ไขครับ อย่างน้อยที่สุดคือโดเมนครับเพราะหากเกิดอะไรขึ้น ต้องการย้ายออก อย่างน้อยเว็บทำใหม่ได้แต่โดเมนหากจดใหม่แล้ว จะวุ่นวายมาก ๆ ครับ
4. SEO รวมในงานไหม
ไม่รวมครับ แม้แต่คุณจ้างเขาทำแยก แต่ก็มักจะเป็นขอบเขตงานคนละข้อกันครับ
SEO คือการทำอันดับ Google ที่ใช้เวลาทำยาวนานและหวังผลระยะยาวจริง ๆ ครับ เพราะฉนั้นบริษัทส่วนใหญ่หากรับทำเว็บและ SEO ด้วย ก็จะเป็นการตรวจรับเว็บก่อน และ SEO ตามหลังครับ
สรุป
การเลือกบริษัทรับทำเว็บไซต์ให้คุ้มค่านั้นต้องพิจารณาหลายปัจจัย ทั้งการวางแผน การเลือกรูปแบบการจ้าง การตรวจสอบผลงาน การเลือกใช้ Wordpress การสอบถามขั้นตอนการทำงาน การระบุความต้องการ และการเปรียบเทียบราคา หากทำตามเคล็ดลับทั้ง 7 ข้อนี้ รับรองว่าจะได้จ้างทำเว็บไซต์ที่คุ้มค่าและตรงใจแน่นอน
Make2Web ก็มีบริการออกแบบและทำเว็บไซต์ WordPress เช่นกันครับ สามารถคลิกดูรายละเอียดบริการได้เลยครับ
👋จ้างทำเว็บไซต์ ที่ไหนดี? ที่นี่เลย! รับทำเว็บไซต์ WordPress